เรื่องของเหล็ก D2 by KRM-P :
1.ทำไม D2 by KRM-P จึงต้านสนิมได้
- 1.1 ธาตุโครเมี่ยมที่เจืออยู่ในเนื้อเหล็ก D2 ที่เหลือพอจะทำปฏิกริยากับออกซิเจน แล้วฟอร์มตัวเป็นออกไซด์ของโครเมี่ยมในลักษณะฟิล์มบาง(Passive Film) ที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอบนผิวมีด ซึ่งมีสมบัติป้องกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกริยากับเหล็กจนเกิดเป็นสนิม
- 1.2 เครื่องมืออบชุบแข็ง ที่สามารถให้อุณหภูมิได้สูงพอที่จะทำให้เกิดการแพร่(Diffusion) ของโครเมี่ยมเข้าไปในเนื้อเหล็ก โดยโครเมี่ยมที่อยู่บนผิวนอกคือส่วนที่จะกลายเป็นฟิล์มบางๆ ป้องกันการเกิดสนิม
- 1.3 ลำดับกระบวนการอบชุบแข็งที่เหมาะสม เป็นผลให้โครเมี่ยมสามารถแพร่เข้าไปในเนื้อเหล็ก ตามระดับของอุณหภูมิและเวลาที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้สภาวะสุดท้ายของเหล็กนั้นมีสมบัติต้านสนิม
2. ทำไม D2 by KRM-P จึงแข็งเหนียวกว่า
*** ในที่นี้หมายถึงเฉพาะมีดหลากสำนัก ที่ทำจากเหล็ก D2 เท่านั้น ***
- 2.1 เหล็กชนิดเดียวกัน ความแข็งเท่ากัน จะมีความเหนียว (Toughness) สูงกว่า เมื่อเกรนของเหล็กนั้นเล็กกว่า โดยสำหรับ KRM-P นั้น เกรนเหล็กที่เล็กละเอียดได้มาจากวัตถุดิบที่ดี คือเหล็ก D2 จาก Bohler ที่มีการเตรียมเหล็กอย่างดีให้มีขนาดเกรนที่เล็กสม่ำเสมอ และยังใช้กระบวนการรีดเหล็กแบบพิเศษ ที่ไม่ทำให้เกรนเหล็กมี Prefer Orientation ซึ่งอาจส่งผลให้เหล็กมีความอ่อนแอต่อการรับแรงกระแทกในบางทิศทาง
- 2.2 ความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenious) ของเหล็ก เป็นผลจากกระบวนการทางความร้อน โดยทั้งการเพิ่ม - ลดอุณหภูมิอย่างแม่นยำ เพื่อกำจัดจุดบกพร่องเล็กๆ(Micro Defect) ที่เกิดจากเนื้อโลหะที่ไม่สม่ำเสมอ ที่อาจส่งผลให้เหล็กนั้นเปราะได้ในบางบริเวณ
3. ทำไม D2 by KRM-P จึงคมเฉียม ลับคมง่าย และรักษาคมได้นาน
- 3.1 เหล็กที่มีความแข็งและมีสมบัติต้านทานการสึกหรอจากการขัดถู (Abrasive wear resistance) ซึ่งได้มาจากเหล็ก D2 เองที่มีธาตุเจือต่างๆที่เพิ่มสมบัติต้่านทานการสึกหรอ (Cr, Mo, V) และวีธีอบชุบแข็งที่สามารถทำให้ธาจุเจือสามารถแสดงสมบัติต้านทานการสึกหรอออกมาได้
- 3.2 เครื่องมือทำคมที่ดี Abrasive ของเครื่องมือที่ใช้ทำคมต้องมีความแข็งสูงกว่าเหล็ก และต้องมีความคมอยู่ในตัว เนื่องจากส่วนตรงขอบๆคมนั้น วัสดุจะอ่อนแอที่สุดตรงรอยต่อระหว่างเกรนเหล็ก หรือระหว่างเหล็กกับคาร์ไบด์ ดังนั้นถ้า abrasive ไม่คมพอ วัสดุจะ fail ตรงขอบเกรนหรือเม็ดคาร์ไบด์. ทำให้ลับมีดอย่างไรก็ไม่คมเฉียบเสียที